Monday, December 31, 2007

เปรียบเทียบ ขยายรูป Photoshop / photoZoom

ภาพต้นฉบับ 6 ล้าน pixels

วิธีโกงขยายรูปโดย Photoshop (โดยปกติมักชอบใช้วิธีนี้ในการขยายรูปจากเนตที่มีความละเอียดพอสมควรไป Print บน A4)
Image > Image Size > ตรงหน่วยของ Pixel Dimensions ปรับเปนเปอร์เซ็นต์ แล้วปรับความกว้างและยาวเป็น 110% > Resample image : Bicubic Smoother > กด OK

ส่วน photozoom ลองเอาไปใช้เอง ไม่บอกหุ หุ



ลองเปรียบเทียบความสามารถในการขยายภาพเล็กๆดูระหว่าง photoshop กับ photoZoom
แบบ zoom 100 %


ตัดสินเอาเองเน้อออ... ผลออกมาชัดเจน

Tuesday, December 18, 2007

BrainStrom (ความคิดขั้นที่ 1) + ปั้นน้ำเป็นตัว

เวลา brainstrom หา key message ของการออกแบบ(และเรื่องอื่นๆ)
นักออกแบบมักจะตื้อคิดไม่ออก
เพราะ
การไม่รู้จักถอยไปข้างหน้าหรือถอยไปข้างหลัง
เพื่อได้มุมมองใหม่
หรืออาจจะเป็นเหตุผลอะไรก็แล้วแต่

หนังสือ 2 เล่มนี้ เป็นตัวอย่างหนึ่งของแนวคิดหนึ่ง(งงละสิ)
ของวิธีการคิดแบบ brain strom
ด้วยวิธีง่ายๆ แต่ได้ใจความ
ถึงแม้ว่าจะ
เป็นเรื่องเกี่ยวกับ
แนวคิด วิธีคิดอย่างหนึ่งของการเขียน plot เรื่องสั้น
แต่วิธีคิด
เป็นวิธีเดียวกับการคิดโฆษณา
(เพราะนักเขียนเคยเป็นสถาปนิกและcreative)

การ brain strom ไปเรื่อยๆ
บวกกับ
เอาข้อมูลที่หามาได้ หรือน่าสนใจ ผสมเข้าไป (ปั้นน้ำเป็นตัว)
จนได้ plot ของงานเขียนออกมา

เสมือนเป็นการ
คิดขั้นที่ 1 ของการออกแบบที่ดี
โดยเฉพาะเรื่อง brainstrom ในหนังสือ 2 เล่มนี้
ส่วนการนำสิ่งต่างๆมาจับใส่กัน หรือเรียกว่าปั้นน้ำเป็นตัว
เป็นวิธีคิดโฆษณาที่ได้ผลดีวิธีหนึ่ง(โดยเฉพาะ TV Ad.)

ส่วนการ brain strom ให้เป็นความคิดขั้นที่ 2 ซึ่งเหมาะกับ
ใช้ในงานออกแบบ (Communication Design)
จะเป็นยังไงนั้น?
อยู่ที่นักออกแบบ ต้องค้นหาเอาเอง

Sunday, December 2, 2007

modify กล้องขุนแผน ครั้งที่ 1

kodak instamatic ตระกูล x เป็นกล้องตัวแรกๆ(ของโลก)ที่ทำให้การถ่ายภาพเริ่มเป็นที่นิยมในคนชั้นกลาง
ด้วยขนาดเล็กกระทัดรัด(เมื่อเทียบกับกล้องในสมัยนั้น) ใช้ง่าย และสะดวก
คนแก่ๆมักัรู้จักกันดีในชื่อ กล้องขุนแผน


ตัวกล้องเริ่มสายการผลิตเมื่อปี ค.ศ. 1970 โดยมีเทคโนโลยี Magicube flash
(เป็นแฟลชแบบใช้แล้วทิ้ง ขนาดเล็กมาก)
เป็นจุดเด่น
กล้องรุ่นนี้ถูกผลิตออกมาจนถึงปี ค.ศ.1976
ทาง kodak จึงออกรุ่นใหม่มาแทนโดยใช้ flipfash ผลิตเรื่อยมา
จนถึงปี 1988 จึงยกเลิกสายการผลิตทั้งหมด

ปัจจุบันกล้องตัวนี้ยังหาได้อยู่เรื่อยๆ แต่ไม่สามารถใช้กับฟิล์มปัจจุบันได้
เพราะยุคนั้นยังใช้ฟิล์มขนาด 126
ดังนั้นจึงมีการดัดแปลงเพื่อที่สามารถใช้กับฟิล์ม 135 ได้
โดยฝรั่งคนหนึ่ง(จำชื่อไม่ได้ล่ะ)
แต่วิธีค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน เพราะต้องตัดตัวน๊อตขนาดใหญ่
มาสวม และเวลาใส่ฟิล์มและถอดฟิล์มก็ต้องใช้ถุงมืด

วิธีต่อไปนี้ ไม่ต้องลำบากหาที่ตัดน๊อต เสียเวลา
แค่ต้องใช้ถุงมืดเวลาเอาฟิล์มออก (วิธีเก่าตอนใส่ฟิล์มก็ต้องใช้ถุงมืด)


1. หา กลักฟิล์ม ที่ไม่ใช้แล้ว
ขอตามร้านอัดรูปก็ได้ เค้าจะให้มาฟรีๆ
จากนั้นแกะท้ายออกซะ โดยใช้ที่เปิดฝาน้ำอัดลม

2. ส่วนที่ใช้คือตัวแกนของมัน
เอาไว้เก็บฟิล์มที่ถ่ายเสร็จแล้วขณะอยู่ในกล้อง

3. ขนาดของแกนฟิล์ม 135 มีขนาดใหญ่กว่าช่องใส่ฟิล์ม 126 ทำให้ไม่สามารถใส่ได้
ใช้กรรไกรตัดเล็ม ตัดเล็มแกนฟิล์มด้านบนให้มีขนาดใส่เข้าไปในกล้องได้

4.เอาไม้โปรแทกเตอร์ (เขียนงี้ป่าวฟระ) ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม

กว้าง 0.8 ซม. ยาว 2.4 ซม.

พับด้านยาวโดยแบ่งดังนี้ 0.2 ซม. / 1 ซม. / 1 ซม. / 0.2 ซม. ให้เหมือนในรูป

5.ใช้กาวตราช้างติดตรงฐานสำหรับหมุนฟิล์มซะ
ระวังอย่าให้กาวซึมเข้าจุดที่หมุน
(กล้องเจ๊งทันที)

6.สำรวจความเรียบร้อยของงาน ลองใช้กาวหยอดให้ติดแน่นๆ (ระวังให้มากๆ)
จากนั้น ก็ใช้กรรไกรตัดเล็บตัดเฉือนมุมนิดหน่อย (เพื่อให้ใส่ฟิล์มได้)
ในรูปยังไม่ได้เฉือน


8. ปิดช่องโดยใช้อะไรก็ได้ที่ ทึบแสง และบาง เพื่อไม่ให้แสงสว่างโดนฟิล์ม
(ในรูปใช้กระดาษฟลอย)

9.ใส่ฟิล์มลงไปเลย (ตัดตรงปลายของแกนด้านบนด้วย เหมือนวิธีที่3)
แล้วเอาปลายฟิล์มติดสกอตเทปแปะกับแกนฟิล์มที่เตรียมมาในวิธีที่ 3
จากนั้นลองหมุน(ขยับก้านหมุนฟิล์มซักรอบนึง)


10. กดแกนฟิล์มเบาๆให้ไปติดกับตัวหมุนฟิล์มที่ติดกาวไว้
จะสังเกตุว่าใต้ฐานแกนหมุนฟิล์มจะมีช่องว่าง
ซึ่งอาจสร้างปัญหา ฟิล์มไม่ตรงกับช่องรับแสง


11. เอากระดาษแข็งสอดในช่องว่าง(อย่าให้คับมาก เพราะแกนฟิล์มต้องหมุน)
จากนั้นก็จัดระเบียบให้ฟิล์มตึงและตรงช่องพอดี

12.ปิดฝาท้าย เอาเทปผ้าสีดำแปะทับด้วย กันแสงรอดเข้าไปโดนฟิล์ม

Wednesday, November 7, 2007

กล้อง Rangefinder คนยาก

ใครว่ากล้อง กล้อง Rangefinder เหมาะสำหรับคนมีกะตังเท่านั้น . . .

ถ้ามีเงินซัก 4000-5000 บ. แต่อยากเล่น Rangefinder ซักตัว จะเลือกกล้องตัวไหนดี . . .















ในความเป็นจริงแล้วกล้อง Rangefinder ในระดับราคาต่ำกว่าหมื่นสามารถหาได้ง่ายตามตลาด(ต่างประเทศ) แต่ที่นิยมในเมืองไทย คงเป็น Yashica Electro 35 กับ Canon ตระกูล G3 นี้แหละ (ส่วนยี่ห้อ Zorki กับ Ricoh นี้ค่อยมาว่ากัน) ราคาตกประมาณ 3500-4500 บ. สำหรับ canon ส่วน yashica ราคาจะประมาณ 1500-3500 บ.
แต่โดยส่วนตัวชอบ canon มากกว่าเพราะนอกจาก body ที่มีขนาดเล็กกว่าแล้ว เลนส์ก็มีคุณภาพที่ดีกว่า Yashica หลายคนไม่รู้จักคุณภาพมักจะเอาไปถ่ายแต่ภาพ lomography ซะจนเสียของ -_-"

สำหรับ Canon G3 Ql17 ตัวนี้สามารถหาได้ตามภิรมณ์พลาซ่า แต่โดยส่วนใหญ่แล้วกล้องตัวนี้สภาพเลนส์จะขึ้นฝ้าหมดทุกตัว ต้องส่งช่างเอาไปล้าง เช็ค แล้วrepair ใหม่ ไม่เกิน 1000 บ.

กล้องตัวนี้ ได้มาใช้ 2 ปี(ล่ะมั้ง) ได้ภาพน่าพอใจมากโดยเฉพาะ portrait ข้างล่างเป็นรูปที่ได้จากกล้องตัวนี้ ใช้film Fuji 160c ไม่แต่งภาพแต่อย่างใด




























Sunday, October 14, 2007

วิชาการ เลขศิลป์-เรขศิลป์ ?

หลายคนรู้จักและคุ้นเคยกับคำว่า graphic design แต่ไม่รู้ความหมายที่แท้จริงของมัน แม้กระทั่งชื่อภาษาไทยจริงๆ คือคำว่าอะไร เรขศิลป์แปลว่าอะไร? เลขศิลป์ต่างจากเรขศิลป์ตรงไหน? ศิลปกรรมศาสตร์, นฤมิตศิลป์, มัณฑณศิลป์, จิตรกรรม, ทัศนศิลป์, ออกแบบสื่อสาร, สถาปัตย์, นิเทศศิลป์, นิเทศศาสตร์ หลายคนยังแยกไม่ออก? อยากเรียน graphic design ต้องเรียนคณะไหน? หลายๆคำถามมักเกิดขึ้นเมื่อคุยกับคนที่กำลังเริ่มสนใจกับงานออกแบบ
วันนี้จะมาคุยเรื่อง เลขศิลป์-เรขศิลป์ ซึ่งเป็นความหมายของคำว่า graphic ( ถ้ามีคำว่า design ก็ต้องมีคำว่า การออกแบบ ด้วย) ซึ่งนักออกแบบ หรือคนทั่วไปมักจะสับสนว่าคำไหนเขียนถูกคำไหนเขียนผิด

แนวคิดวิธีพิสูจน์ว่าคำไหนถูกผิด เรียงจากความน่าเชื่อถือน้อย > มาก แบ่งได้ 3 วิธี (ที่คิดออก)

1.คนไทยใช้คำไหนบ่อยกว่ากัน
จาก google.com
เรขศิลป์
มีคำในwebsiteทั่วโลกทั้งหมด 878 คำ
เลขศิลป์ มีคำในwebsiteทั่วโลกทั้งหมด 1,810 คำ

2.การใช้คำในองค์กรต่างๆ
2.1 สังเกตได้จากคณะที่สอนด้านการออกแบบ
ม.จุฬาลงกรณ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ใช้คำว่า
"ออกแบบเรขศิลป์"เป็นสาขาหนึ่งของภาควิชานฤมิตศิลป์
ม.ศิลปกร คณะมัณฑนศิลป์ มีการใช้คำ "เลขศิลป์" http://www.decorate.su.ac.th/visual.html
2.2 จาก Wikipedia
Search คำว่า
กราฟิกดีไซน์ มีการใช้คำว่า "การออกแบบเลขศิลป์"
2.3 จากกระทู้ใน website freemac.net
http://www.freemac.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=8567&highlight=
มีการใช้สรุปว่า "เรขศิลป์" น่าจะเป็นการใช้คำที่ถูกต้อง


3.การประสมของคำ และความหมายแท้ๆของคำ

จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542

เรข, เรขาก. เขียน. ว. ดังเขียน, งาม. (ป., ส. เรขา ว่า ลาย, เส้น).

เลข[เลก] น. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนจํานวนจริง; วิชาคํานวณ.


เลขกะ[เลขะกะ] น. ผู้เขียน, เสมียน. (ป., ส.).
เลขนะ[เลขะนะ] น. รอยเขียน, ตัวอักษร, ลวดลาย. (ป., ส.).
เลขยะ[เลขะยะ] น. การเขียน. (ส.).
เลขาน. ลาย, รอยเขียน, ตัวอักษร, การเขียน. ว. งามดังเขียน. (ป., ส.)
ศิลป, ศิลป์ ๑, ศิลปะ[สินละปะ, สิน, สินละปะ] น. ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การทำให้

วิจิตรพิศดาร, เช่น เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมีศิลปะ

ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์;

การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ

อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น ศิลปะการดนตรี ศิลปะ

การวาดภาพ ศิลปะการละคร วิจิตรศิลป์. (ส. ศิลฺป; ป. สิปฺป ว่า

มีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม).

จากความหมายสรุปได้ว่า เรข ,เรขา ,เลขา + ศิลป์ = เรขศิลป์ ,เลขศิลป์

เหตุผล 3 ข้อที่กล่าวมานั้น สรุปได้ว่าการใช้คำภาษาไทยที่มาแทนคำว่า graphic design สามารถใช้ได้ทั้ง "การออกแบบเลขศิลป์" และ "การออกแบบเรขศิลป์"


* graphic = เรขศิลป์ ,เลขศิลป์
graphic design =
การออกแบบเลขศิลป์ ,การออกแบบเรขศิลป์


Saturday, October 13, 2007

Postcard ส่งความสุข ( ละมั้ง? )

หึ หึ ในที่สุดก็แดกดันโครงการPostcard นี้ออกมาจนได้ จริงๆแล้วเป็นpostcard ที่พัฒนาต่อมาจาก project เล็กๆ ตอนปี3 แต่ key message และ เป้าหมายเปลี่ยนไปจากของเดิม
เลยตั้งใจออกมาทันเทศกาลกินเจพอดี ถือว่าเป็นการฝึกบังคับตนเองให้ถ่ายรูปบ่อยๆ ล่ะกัน ตอนแรกจะส่ง 20 คน ลองหารายชื่อมาแล้วตัดๆออก จากปัจจัยต่างๆ สุดท้ายเริ่มต้นส่งให้ 14 คนก่อน( เพื่อนสนิท รุ่นพี่ คนที่รู้สึกดีด้วย) เพราะไม่มีงบน่ะ 555+ ใครที่ไม่ได้ก็ไม่ต้องน้อยใจ เพราะรู้ที่อยู่จริงๆ

ส่วนรูปใน postcard ที่จะส่งไป คงเป็นรูปธรรมดาๆน่ะ ถ่ายเอง ทำเองอย่างตั้งใจ รูปอาจจะไม่สวย งานอาจจะออกมาห่วย แต่ยังไงก็จะยัดเยียดให้พวกแก


ฉบับแรกคงถึงมือผู้รับประมาณ 18-20 ต.ค. 2549
ไอรูปตรงข้างล่างเป็นรายละเอียดหลัง postcard น่ะ